รสอ.เดชา จาตุธนานันท์ ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมหารือความร่วมมือ ในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสหพันธ์การบรรจุภัณฑ์แห่งเอเชีย และการประกวดบรรจุภัณฑ์ AsiaStar Awards 2019 ครั้งที่ 2
6 ธันวาคม 2561รสอ.(นายเดชา จาตุธนานันท์) ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมหารือความร่วมมือ ในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสหพันธ์การบรรจุภัณฑ์แห่งเอเชีย 69th Board of Administration & 44th General Assembly of APF และการประกวดบรรจุภัณฑ์AsiaStar Awards 2019 ครั้งที่ 2 ร่วมกับผู้แทนหน่วยงานจากประเทศไทย ได้แก่ สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้แทนจากMesse Dusseldof Asia ผู้จัดงาน Pack print International 2019 ประเทศสิงคโปร์ ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกสอ. โดยมีกำหนดจัดงานขึ้นในเดือนกันยายน 2562 ซึ่งกส.กสอ. เป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงานในครั้งนี้
07 ธ.ค. 2018
กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ร่วมกับ สถาบัน SMI สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประชุมและเยี่ยมชมศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม
ผกบ.กส. เป็นผู้แทนต้อนรับ สถาบัน SMI สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เจ้าหน้าที่ กง.กสอ. และกน.กสอ. ซึ่งนำผู้ประกอบการบริษัทพี่เลี้ยงในด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ บจก.เบญจมิตรบรรจุภัณฑ์ บจก.วงศ์เอกอุตสาหกรรม และบมจ.ทานตะวันอุตสาหกรรมเข้าร่วมประชุมและเยี่ยมชมศูนย์ออกแบบฯ (Thai - IDC) และศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมฯ (ITC) ซึ่งเป็นหนึ่งกิจกรรมภายใต้โครงการ Big Brother ซึ่งทั้ง 3 บริษัทพี่เลี้ยงจะนำตัวอย่างบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ มาจัดแสดงในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าเยี่ยมชม ขอคำปรึกษา และสั่งผลิตบรรจุภัณฑ์ในราคาพิเศษภายใต้โครงการ Big Brother โดยต่อไปจะมีการจัดกิจกรรมฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ออกแบบของกสอ. โดยวิทยากรจากบริษัทพี่เลี้ยงอีกด้วย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสถาบัน SMI สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นำผู้ประกอบการบริษัทพี่เลี้ยงในด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ 1. บริษัท เบญจมิตรบรรจุภัณฑ์ จำกัด2. บริษัท วงศ์เอกอุตสาหกรรม จำกัด3. บริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)เข้าร่วมประชุมและเยี่ยมชมศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ Thailand Industrial Design Center (Thai - IDC) และศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม Industry Transformation Center (ITC) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งกิจกรรมภายใต้โครงการ Big Brother ความร่วมมือระหว่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกับกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งทั้ง 3 บริษัทพี่เลี้ยงจะนำตัวอย่างบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ มาโชว์ยังศูนย์แห่งนี้ รวมถึงศูนย์ ITC ทั่วประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าเยี่ยมชมและขอคำปรึกษาด้านการออกแบบบรรจุภณฑ์ได้ ฟรี!! และผลิตบรรจุภัณฑ์ในราคาพิเศษภายใต้โครงการ Big Brotherซึ่งหลังจากนี้ จะมีกิจกรรมฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ออกแบบของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยวิทยากรจากบริษัทพี่เลี้ยง ต่อไป
07 ธ.ค. 2018
กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ร่วมกับ กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชรและศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ดำเนินงานและเตรียมความพร้อม การลงพื้นที่ตรวจราชการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ระหว่างวันที่ 11-13 ธ.ค. 2561
วันที่ 4 - 5 ธันวาคม 2561 กส.กสอ./กช.กสอ. ร่วมกับ ศภ.4 กสอ. /สอจ.บึงกาฬ และ สอจ.หนองคาย ลงพื้นที่หมู่บ้าน CIV จังหวัดบึงกาฬ หนองคาย และจังหวัดอุดรธานี เพื่อประสานการดำเนินงานและเตรียมความพร้อม การลงพื้นที่ตรวจราชการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ระหว่างวันที่ 11-13 ธ.ค. 2561 ดังนี้ -บ้านสะง้อ ต.หอคำ อ.เมือง จ.บึงกาฬ สินค้าเด่นผลิตภ้ณฑ์ผ้าขาวม้าหมักโคลนย้อมสีธรรมชาติ ผลิตถัณฑ์แปรรูปจากผ้า เช่น เสื้อผ้าสตรี ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก-บ้านจอมแจ้ง ต.สีกาย อ.เมือง จ.หนองคาย สินค้าและบริการเด่น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปจากถ้วลิสงการเลี้ยงปลาในกระชัง การนวดบำบัด-บ้านเดื่อ ต.บ้านเดื่อ อ.เมือง จ.หนองคาย สินค้าเด่นได้แก่ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปจากมะม่วง ปลานิลแดดเดียว กุนเชียงปลา ใส้กรอกปลา -ศูนย์กลางตลาดผ้าบ้านนาข่า อ.เมือง จ.อุดรธานี ศูนย์กลางการผลิตและจำหน่ายผ้าทอที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุดรธานี
04 ธ.ค. 2018
กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จัดฝึกอบรมหลักสูตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านด้วยคอมโพสิท 27-29 พ.ย.61
กช.กส.กสอ. จัดฝึกอบรมหลักสูตร“การออกแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านด้วยคอมโพสิท” ระหว่างวันที่ 27 - 29 พฤศจิกายน 2561 ณ อาคารศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thai-IDC) และอาคารปฏิบัติการไฟเบอร์กลาส ซอยตรีมิตร เขตคลองเตย กรุงเทพฯ วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการและบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจการออกแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านด้วยคอมโพสิท และการวางแผนการผลิตที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูง มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 35 คน
27 พ.ย. 2018
กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การจัดทำแผนกลยุทธ์กลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ" "เมืองจันท์อัญมณี" (ต่อเนื่องเป็นปีที่4) ณ โรงแรมเคพีแกรนด์ จังหวัดจันทบุรี
วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2561 นางสาวรุ่งรัตน์ ศรีนวกุล ผู้อำนวยกลุ่มเชื่อมโยงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เป็นประธานในพิธีเปิด การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "การจัดทำแผนกลยุทธ์กลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ" "เมืองจันท์อัญมณี" (ต่อเนื่องเป็นปีที่4) ปีงบประมาณ 2562 ณ โรงแรมเคพีแกรนด์ จังหวัดจันทบุรี เพื่อระดมความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มในปี 2562
27 พ.ย. 2018
นางสาวนฤมล ศิริทรงธรรม รักษาราชการแทน ผอ.กส. กสอ. ร่วมกับ ISMED ร่วมตัดสินรอบสุดท้าย ในกิจกรรมพัฒนาผู้นำธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ สาขาธุรกิจบริการและไลฟ์สไตล์ เพื่อมอบรางวัลแก่ผู้ชนะ ทั้งสิ้นจำนวน 12 รางวัล ณ โรงแรม s31 กรุงเทพฯ
วันที่ 23 พ.ย. 61นางสาวนฤมล ศิริทรงธรรม นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และนางสาวกาญจนา เผดิมผล ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาบุคลากรสร้างสรรค์ ร่วมกับสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED)เข้าร่วมตัดสินรอบสุดท้าย ในกิจกรรมพัฒนาผู้นำธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ สาขาธุรกิจบริการและไลฟ์สไตล์ เพื่อมอบรางวัลแก่ผู้ชนะ ทั้งสิ้นจำนวน 12 รางวัล ณ โรงแรม s31 กรุงเทพฯซึ่งในครั้งนี้มีผู้ประกอบการเข้าร่วมนำเสนอทั้งสิ้น 21 ราย
23 พ.ย. 2018
นางวันเพ็ญ รัตนกังวาล นำทีมเปิดโครงการสร้างสรรค์อัตลักษณ์สินค้าอุตสาหกรรมสู่ชุมชน "ไทยเด่น"
คลิปวีดีโองานไทยเด่น https://youtu.be/W5ryQx9GDBI กสอ. ผุด “ไทยเด่น” หนุนชุมชนชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น สร้างเศรษฐกิจฐานรากแข็งแรง นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “ไทยเด่น “สร้างสรรค์อัตลักษณ์สินค้าอุตสาหกรรมชุมชนสู่สากล พร้อมกลยุทธ์การสร้าง Product Hero จำนวน 77 ผลิตภัณฑ์ 77 จังหวัด เพื่อการพัฒนาสินค้าชุมชน ส่งเสริมและผลักดันสินค้าอุตสาหกรรมชุมชนให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนาแล้วเสร็จจะเข้าสู่กระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์ พร้อมจัดทัพผู้เชี่ยวชาญทุกสาขาปั้นแบรนด์ชุมชนให้แข็งแรง มั่นคง ยั่งยืน ตั้งแต่การพัฒนารูปลักษณ์สินค้า รสชาติที่หลากหลาย การบริโภคที่สะดวกมากขึ้น ตลอดจนบรรจุภัณฑ์ให้เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมในแต่ละจังหวัด แต่ละท้องถิ่นมีสินค้าเด่นของตนเองอย่างชัดเจนมากขึ้น นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า โครงการไทยเด่น เป็นโครงการต่อยอดสินค้าชุมชนเพื่อให้เอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมของใช้ ของตกแต่งและของที่ระลึกได้รับการพัฒนาตัวสินค้า บรรจุภัณฑ์ ให้คำแนะนำด้านการตลาดดิจิทัล เป็นการสร้างรายได้แก่ชุมชน ช่วยให้เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงขึ้น ภายในงานยังได้เชิญนายตัน ภาสกรนที ประธานกรรมการบริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) มาร่วมให้แรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการ นอกจากนี้ยังมีการเสวนาพิเศษจากเจ้าของธุรกิจ โดยนางจงใจ กิจแสวง (หมูทอดเจ้จง) นางกรรณิการ์ โวหารบัณฑิตย์ (ไส้กรอกแม่ไก่) และ นายพริษฐ์ดล อัครสิทธิหิรัญ (แบรนด์ มินดารา) มาเล่าถึงเส้นทางจากรากหญ้าเดินทางสู่ความสำเร็จเงินล้านได้อย่างไร และนายฟูมิ ซาซาดะ ประธานกรรมการ จากบราวิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัทออกแบบบรรจุภัณฑ์อันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่นมาร่วมให้มุมมองแก่ผู้ประกอบการด้วย นางจงใจ กิจแสวง (หมูทอดเจ้จง) กล่าวถึงความลำบากจากการเป็นหนี้นอกระบบก้อนโต ในขณะนั้น ขายอาหารตามสั่งแต่ติดเหล้า จนวันหนึ่งเสียดายเวลาที่หมดไปโดยเปล่าประโยชน์ บ้าหรือเปล่า เป็นหนี้ แต่จะนอนตอนสองทุ่ม กลับบ้านช่วงบ่ายจะหลับตอนสองทุ่มทุกวัน จนวันหนึ่งคิดว่าอยากให้ลูกๆ อยู่สุขสบาย จึงเป็นแรงผลักดันให้อดทนทำงานหนักมาจนมีวันนี้ จุดเด่นและเคล็ดลับความสำเร็จ คือ ความพากเพียร มีมานะ มีความพยายาม ไม่ย่อท้อ ไม่ยอมแพ้ต่อปัยหาอุปสรรคต่างๆ มีความอดทนสู้ นึกถึงใจลูกค้าเสมอ เล็งเห็นความต้องการของลูกค้าว่าลูกค้าต้องการของถูกแต่อิ่ม ย่อมนำไปสู่ความสำเร็จได้สักวันหนึ่ง นางกรรณิการ์ โวหารบัณฑิตย์ (ไส้กรอกแม่ไก่) เริ่มจากการเป็นแม่ค้าขายเนื้อหมูในตลาดและเห็นพ่อค้าแม่ค้ามาซื้อเศษเนื้อหมูจึงเห็นช่องทางในการทำไส้กรอกอีสานจึงรวบรวมเงินลงทุนอยู่ 1 ปีเพื่อมาลงทุน จุดเด่นและเคล็ดลับของความสำเร็จของแบรนด์ไส้กรอกแม่ไก่ คือ มีจิตใจที่เมตตาและจิตใจที่บริสุทธิ์ ยอมได้กำไรน้อย ถ้าพ่อค้าแม่ค้าที่ซื้อแฟรนไชส์ไปนั้นมีความสุขกับครอบครัว เราก็มีความสุขไปด้วย สำหรับนายพริษฐ์ดล อัครสิทธิหิรัญ (เจ้าของแบรนด์ มินดารา) จากพนักงานออฟฟิศคนหนึ่งได้ตัดสินใจไปบวชอยู่ต่างจังหวัด ทุกวันต้องเดินผ่านทุ่งนาวันแล้ววันเล่า พอสึกออกมาจึงอยากมีธุรกิจเป็นของตนเองอยากมีสินค้าไปขายในห้างใหญ่จึงเริ่มวางแผนการผลิตสินค้า MINDHARA Organic ขึ้นมาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากการแปรรูปข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยมีแนวความคิดที่จะพัฒนาต่อยอดจากที่ได้แรงบันดาลใจโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงเริ่มค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับการทำ Products & Packaging ให้ดูน่าสนใจมากขึ้น วิธีการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่หน้าจดจำ ยอมทำทุกอย่างจากที่ไม่เคยทำมาก่อน ไม่ไปเที่ยวกับเพื่อน ไม่กินอาหารดีๆต้องอยู่ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เคล็ดลับความสำเร็จคือ การสู้ไม่ถอยแม้ว่าจะต้องพยายามอย่างหนักก็ตาม ..........................................................
05 ต.ค. 2018
นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่ากระกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน “CCE South East Asia-Thailand 2018” ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
กสอ. หนุนอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ กระดาษลูกฟูกไทยเป็นศูนย์กลางในอาเซียนวันที่ 5 กันยายน 2561 นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่ากระกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน “CCE South East Asia-Thailand 2018” ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ซึ่งจัดโดย สมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย (TCPA) สมาคมกลุ่มอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษไทย (TPPIA) สมาคมการพิมพ์สกรีนไทย (TSGA) สานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thai-IDC) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งนายจารุพันธุ์ จารโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thai - IDC) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานหนึ่งในการจัดกิจกรรมประกวดการออกแบบ บรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก “Thai Corrugated Packaging Excellence Award 2018” ในงาน CCE South East Asia-Thailand 2018 เป็นครั้งแรก เพื่อเปิดโอกาสให้นักออกแบบผลิตภัณฑ์ นิสิต นักศึกษา ได้แสดงผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากกระดาษลูกฟูก เพื่อกระตุ้นให้เกิดมุมมองใหม่ๆ ในการต่อยอดวัตถุดิบกระดาษลูกฟูกเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป และจะมีการประกาศผลการประกวดในงานดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้ประกอบการและนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 รายจะได้รับประโยชน์ องค์ความรู้ใหม่ นาไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ พร้อมเป็นการยกระดับความสามารถด้านการออกแบบของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับอาเซียน
05 ก.ย. 2018
นายกอบชัย สังข์สิทธิสวัสดิ์ ให้เกียรติมอบโล่รางวัลแก่นักออกแบบที่ชนะเลิศและการแสดงแฟชั่นโชว์คอลเล็คชั่นพิเศษจาก 15 ดีไซเนอร์ จากการดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพนักออกแบบสู่สากลในรูปแบบ Academy 2018
วันที่ 18 กรกฎาคม 2561 เวลา 13.30 – 15.00 น กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (กส.กสอ.) ร่วมกับ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพนักออกแบบสู่สากลในรูปแบบ Academy ประจำปี 2561 จัดกิจกรรมมอบโล่รางวัลแก่นักออกแบบที่ชนะเลิศและการแสดงแฟชั่นโชว์คอลเล็คชั่นพิเศษจาก 15 ดีไซเนอร์ที่ผ่านการเข้ารอบสุดท้าย พร้อมการสัมภาษณ์นักออกแบบที่ไปออกบูธทดสอบตลาดต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ในงานนี้ได้รับเกียรติจาก นายกอบชัย สังข์สิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายจารุพันธุ์ จารโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายชาญชัย สิริเกษมเลิศ พลตรีไชย หว่างสิงห์ ผู้อำนวยการโรงงานเภสัชกรรมทหาร นายชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน และ นางวันเพ็ญ รัตนกังวาล ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีฯ ณ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ Thai-ID
18 ก.ค. 2018
นายภาณุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธาน และมอบรางวัล ประกาศนียบัตรแก่ผู้ชนะกิจกรรมการตัดสินการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติกและคอมโพสิท ณ อาคาร Thai-IDC คลองเตย กรุงเทพฯ
กสอ. ชูนักออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติกและคอมโพสิท พร้อมดันสู่เวทีโลก กรุงเทพฯ 16 กรกฎาคม 2561 นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรและรางวัลผู้ชนะการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติกและคอมโพสิท โดยมีนางวันเพ็ญ รัตนกังวาล ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ถือเป็นบทบาทใหม่ของอุตสาหกรรมไทย ในการขับเคลื่อนให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญาเป็นต้นทุนสำคัญ เพื่อนำไปสู่ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ๆ ในกระบวนการผลิต เกิดการสร้างรายได้จากสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง และตระหนักถึงความจำเป็นในการเร่งพัฒนาผู้ประกอบการและนักออกแบบให้เห็นถึงความสำคัญของการนำแนวคิดเชิงสร้างสรรค์มาใช้ในการผลิตสินค้า จึงได้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้นำธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติกและคอมโพสิทขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการสู่การเป็นผู้นำธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติกและผลิตภัณฑ์คอมโพสิท โดยมีพันธมิตรสำคัญ คือสถาบันพลาสติก กิจกรรมดังกล่าว มีผู้ประกอบการและนักออกแบบเข้าร่วมกิจกรรม 204 ราย เข้ารอบ 130 ราย ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการเข้าสู่รอบตัดสิน จำนวน 41 ราย โดยแยกเป็นสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติก 21 ราย สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์คอมโพสิท 20 ราย นับเป็นผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ และนำแนวคิดไปขยายผลต่อยอดธุรกิจ พร้อมที่จะก้าวสู่การเป็น โรงงานที่มีรูปแบบการพัฒนาด้วยดีไซน์ที่มีรูปแบบสินค้าเป็นของตนเองสามารถนำไปเสนอขายให้ลูกค้า (ODM) ในระดับเอเซียและในระดับโลกในอนาคตอันใกล้ได้ต่อไป
16 ก.ค. 2018